มด ครอบครองพี้นที่ส่วนใหญ่ ประมาณว่า ทั่วโลกพบมดที่จำแนกชนิดแล้ว 15,000 ชนิด
มดน้ำผึ้งมีลักษณะ หัว อก ท้อง และขาสีน้ำตาลอ่อนคล่้ายสีน้ำผึ้ง หัวเล็ก อกและเอวเรียวยาว ส่วนท้องใหญ่สีน้ำตาลเข้ม มีขนปกคลุมเล็กน้อย พฤติกรรม ชอบหากินตามยอดอ่อนของต้นไม้ มักชุมนุมอยู่บริเวณที่มีเพลี้ยอาศัยอยู่ ถิ่นอาศัย ป่าโปร่ง ชุมชน สถานภาพ พบบ่อย |
มดตะลานยักษ์ปักใต้มีลักษณะ เขี้ยวใหญ่ หัวใหญ่สีดำ อกต่อนข้างเล็กเรียวสีดำ ผิวเรียบเป็นมัน เอวคอด ท้องมีขนาดใหญ่สีน้ำตาลแดงหรือสีน้ำตาลไหม้ ขาดีน้ำตาลเข้มหรือดำ พฤติกรรม เดินหากินตามพื้น บางครั้งขึ้นบนต้นไม้เตี้ยๆ ทำรับขนาดใหญ่ในดิน ถิ่นอาศัย ป่าดงดิบ สถานภาพ พบบ่อย |
มดตะลานป้องขี้เถ้ามีลักษณะ หัวและอกค่อนข้างใหญ่สำดำปนเทา คล้ายสีขี้เถ้า ผิวเรียบเป็นมัน ท้องสีดำปนเทา ช่วงต่อกับเอวมีเหลือบสีทองมันวาวเล็กน้อย ขาสีดำ พฤติกรรม เดินหากินตามพื้น บางครั้งขึ้นบนต้นไม้เตี้ยๆ ถิ่นอาศัย ป่าโปร่ง สถานภาพ พบบ่อย |
มดตะลานป่าหัวแดงมีลักษณะ หัวใหญ่สีน้ำตาลแดง ลำตัวและขาสีดำพฤติกรรม เดินหากินตามพุ้มไม้ และดอกไม้ ถิ่นอาศัย ป่าดงดิบ พื้นที่เกษตกรรม สถานภาพ พบบ่อย |
มดฮี้ดำมีลักษณะ หนวดสามปล้อง ส่วนปลายมีขนาดยาวกว่าปล้องอื่นมาก หัว อก และท้องสีน้ำตาลเข้ม ผิวเรียบ ส่วนท้องมีรูปร่างคล้ายรูปหัวใจ ปลายท้องแหลมพฤติกรรม ชอบเดินหากินบนต้นไม้ใหญ่ ถิ่นอาศัย ป่าดงดิบ สถานภาพ พบบ่อย |
มดง่ามคู่สีเทามีลักษณะ หัว ลำตัว และท้องสีเทาดำ ตาโปนใหญ่ หัว อก และท้องส่วนที่ติดกับเอวมีลักษณะเป็นร่องคล้ายนิ้วมือ ปล้องอกที่อยู่ใกล้ส่วนเอวยื่นแหลมคล้ายหนามคู่ ลำตัวและขามีขนปกคลุมบางๆ ปล้องท้องบางปล้องคอดเล็กน้อยพฤติกรรม ทำรังใต้ดิน ถิ่นอาศัย ป่าดงดิบ ป่าโปร่ง สถานภาพ พบบ่อย |
มดง่ามคู่สีดำมีลักษณะ หัว ลำตัว และท้องสีดำ ตาโปนใหญ่ หัว อก ปล้องแรกมีร่องคล้ายนิ้วมือ ส่วนท้องเรียบ ไม่มีร่อง อกค่อนข้างยาว ปล้องอกที่อยู่ใกล้ส่วนเอวยื่อนแหลมคล้ายหนามคู่ ลำตัวและขามีขนปกคลุมบางๆ ปล้องท้องบางปล้องคอดเล็กน้อยพฤติกรรม หากินตามพื้น และขึ้นบนต้นไม้เตี้ยๆ ในบ้างครั้ง ถิ่นอาศัย ป่าโปร่ง สถานภาพ พบบ่อย |
มดก้นหอยหลังง่ามมีลักษณะ หัวสีดำ อก เอว และขาสีน้ำตาลเข้ม ท้องสีดำ ผิวเรียบพฤติกรรม ชอบอยู่รวมกลุ่มตามยอดไม้ เพื่อกินน้ำหวานสที่ผิวต้นไม้ผลิตออกมา เป็นวิธีการที่ต้นไม้อาศัยมดช่วยในการกำจัดเพลี้ยและแมลงสัตรูพืชอื่น โดยใช้น้ำหวานล่อให้มดมาอยู่รวมกัน ถิ่นอาศัย ป่าดงดิบ ป่าโปร่ง จากที่ราบไปจนถึงระดับความสูง 1,000 เมตร สถานภาพ พบบ่อย |
มดกระโดดเหลืองมีลักษณะ หัว อก ท้อง และขาสีน้ำตาลคล้ายสีน้ำผึ้ง หัวมีขนาดใหญ่รูปทรงเป็นสี่เหลี่ยม อกและเเอวเรียวยาว ท้องใหญ่กว่าเอวเล็กน้อย ปากมีเขี้ยวยาวกางได้ 180 องศา พฤติกรรม ทำรังในโพรงดิน หากมีอันตรายมักกระโดดหนีด้วยความเร็ว ถิ่นอาศัย ป่าดงดิบ ป่าชายเลน สถานภาพ พบบ่อย |
มดไอ้ชื่นดำมีลักษณะ หัว อก ท้อง และขาสีดำ ผิวของส่วนหัวและอกด้านบนมีลายเส้นโค้งคล้ายลายบนนิ้วมือ ท้องเรียวยาว ผิวเรียบ และมีขนปกคลุมเล็กน้อยพฤติกรรม เดินหากินตามพื้นและต้นไม้ ถิ่นอาศัย ป่าดงดิบ ป่าโปร่ง สถานภาพ พบบ่อย |
มดแดงมีลักษณะ ลำตัวสีแดงหรือแดงอมส้ม พฤติกรรม อาศัยอยู่ในรังทำด้วยใบไม้ คนทางภาคอีสานนิยมนำตัวอ่อนและไข่มาปรุงอาหาร ถิ่นอาศัย ป่าโปร่าง ป่าละเมอะ ส่วนผลไม้ สถานภาพ พบบ่อย |
มดปุยฝ้ายป่ามีลักษณะ หัว อก และท้องสำดำ ขาสีน้ำตาล มีขนปกคลุมบางๆ ผิวทั้งตัวมีลักษณะขรุขระ ท้องค่อนข้างใหญ่ พฤติกรรม สามารถฉีดฟองที่มีกรดออกมาจากส่วนปลายท้องเพื่อป้องกันตัว ถิ่นอาศัย ป่าดงดิบ ป่าดิบเขา ป่าโปร่ง สถานภาพ พบไม่บ่อย |
มดหนามกระดิงดำมีลักษณะ หัวเล็ก ส่วนท้องกลมใหญ่ หัวและลำตัวสีดำ ท้องสีน้ำตาลดำ อก หลัง และเอวมีหนามแหลมสามคู่ และหนามบริเวณอกไม่ยาวมากนัก ผิวบริเวณหัวและตำตัวขรุขระ พฤติกรรม เดินหากินตามต้นไม้ ถิ่นอาศัย ป่าทั่วไป สถานภาพ พบบ่อย |
มดหนามเคียวใหญ่มีลักษณะ หัวเล็ก ส่วนท้องกลมใหญ่ หัวสีน้ำตาลเข้ม อกและท้องสีน้ำตาลแดง บริเวณอก หลัง เอว มีหนามแหลมสามคู่ โดยเฉพาะหามที่เอวมีขนาดใหญ่ และส่วนปลายแยกออกจากกัน พฤติกรรม สร้างรังถาวรในดินค่อนข้างลึก แต่ลรังมีมดงานมากว่า 1 หมื่นตัว ถิ่นอาศัย ป่าดงดิบ สถานภาพ พบบ่อย |
มดหนามกระทิงขนทองมีลักษณะ หัวเล็กค่อนข้างกลมและผิวเรียบ ส่วนท้องกลมใหญ่และมียนสีทองปกคลุมบางๆ หัวและลำตัวสำน้ำตาลดำ ห้องสีน้ำตาลทอง ด้าน้างของอกมีเขาแหลมสามคู่ พฤติกรรม สร้างรังด้วยเศษไม้ หญ้าแห้ง โดยใช้เส้นใยจากตัวอ่อนช่วยประสาน สร้างรังทั้งบนดินและบนต้เนไม้ ถิ่นอาศัย ป่าโปร่ง ป่าละเมาะ สถานภาพ พบบ่อย |
มดหนามปล้องไผ่มีลักษณะ หัว อก และท้องดำเทา ผิวเรียบเป็นมัน หัวแบน อกปล้องแรกค่อนข้างใหญ่ ด้านข้างของปล้องเอวมีเขาแหลมยื่นออกมา ท้องกลมมีขนปกคลุมเล็กน้อย ขาสีน้ำตาลเข้ม พฤติกรรม ชอบเดินหาอาหารตามยอดอ่่อนของต้นไม้ มักชุมนุมรวมกันบริเวณที่มีเพลี้ยอาศัย ถิ่นอาศัย ป่าดงดิบ ป่าโปร่ง สถานภาพ พบบ่อย |
มดหนามหีบทองง่ามมีลักษณะ หัวเล็ก อกมีรูปทรงคล้ายกล่อง มุมส่วนอกมีหลักแหลมเอวแบน มีหนามสองคู่ด้านบนและด้วนล่าง ส่วนท้องกลมใหญ่ หัว อก และท้องสีเทาเข้ม ทั้้งตัวมีขนสีทองปกคลุม พฤติกรรม สร้างรังอยู่ในดินหรือในขอนไม้ผุ กินหนอนและแมลงศัตรูพืชเป็นอาหาร ถิ่นอาศัย ป่าดงดิบ ป่าโปร่ง ป่าละเมาะ สถานภาพ พบบ่อย |
มดตะนอยดำใหญ่มีลักษณะ หัวเล็ก หัว อก ท้อง และขาสีดำ อกเล็กและแบ่งเป็นปล้องๆ เอวเรียวยาวแบ่งเป็นปล้องๆ ส่วนท้องใหญ่และเรียวยาวมีขนปกคลุมเล็กน้อย ขาค่อนข้างใหญ่เมื่อเทียบกับลำตัว และมีขนปกคลุม พฤติกรรม เดินหากินบนต้นไม้ ถิ่นอาศัย ป่าดงดิบ ป่าโปร่ง ป่าละเมาะ สถานภาพ พบบ่อย |
มดตะนอยอกส้มมีลักษณะ หนวดสำน้ำตาล หัวใหญ่สีดำ อกสีส้มเล็กคอดเป็นปล้องๆ โคนขาสีดำ แข้งและปลายขาสีดำ เอวปล้องที่ติดกับปล้องท้องสีดำ ท้องสีดำ ผิวเรียบเป็นมันทั้งตัว ไม่มีขนปกคลุม พฤติกรรม เดินหากินตามพุ้มไม้ ถิ่นอาศัย ป่าดงดิบ พื้นที่เกษตกรรม สถานภาพ พบบ่อย |
||
มด
เป็นแมลงชนิดหนึ่ง สามารถพบได้ทั่วไปตั้งแต่เขตร้อน (Tropics) จนถึงบริเวณใกล้เขตขั้วโลก (Subartic) สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ดีทั้งในสภาพแวดล้อมทั่วไปในพื้นที่เกษตรกรรมและบริเวณที่อยู่อาศัย จนมีคำกล่าวว่า มดครอบครองพื้นที่ส่วนใหญ่ ประมาณว่าทั่วโลกพบมดที่จำแนกชนิดแล้ว 15,000 ชนิด ส่วนในประเทศไทยคณะวนศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ รายงานว่ามีการพบมดแล้วทั้งหมด 9 วงศ์ย่อย 86 สกุล 512 ชนิด โดยมดจัดเป็นแมลงสังคมชนิดหนึ่งที่มีพฤติกรรมความเป็นอยู่แตกต่างจากแมลงอื่นๆซึ่งโดยทั่วไปแล้วแมลงสังคมมีอยู่ 2 อันดับ คือ อันดับ Hymenoptera ได้แก่ กลุ่มของ ผึ้ง ต่อ แตนและมด และอันดับ Isoptera ได้แก่ ปลวก
มดเป็นแมลงสังคมที่อยู่ในวงศ์ Formicidae จัดเป็นแมลงสังคมแท้จริงชั้นสูงที่ขนาดรังมีประชากรเป็นจำนวนมาก มีการสร้างรังอย่างประณีต และสมาชิกภายในรังมีการแบ่งชั้นวรรณะแยกออกจากกันให้เห็นอย่างชัดเจนทั้งรูปร่าง ลักษณะและหน้าที่ โดยมีการติดต่อสื่อสารกันระหว่างสมาชิกภายในรัง มดมีบทบาทต่อคนในหลายลักษณะทั้งที่เป็นแมลงทำลายศัตรูพืชผลทางการเกษตรในแปลงปลูกและในโรงเก็บ ทำความเสียหายทางด้านปศุสัตว์ โดยเข้ากัดกินตัวอ่อน ส่วนในบ้านเรือนของคนนั้น มดจะเข้ามาก่อความรำคาญและทำความเสียหาย โดยเข้ามามีส่วนแบ่งในอาหารและที่อยู่อาศัยของคน นอกจากนั้นมดยังสามารถทำอันตรายกับคนโดยตรง โดยมดบางชนิดสามารถกัดหรือต่อยด้วยเหล็กไน หรือทั้งกัดและต่อยทำให้เกิดความเจ็บปวด เกิดอาการแพ้ หรือเกิดแผลการติดเชื้อบริเวณที่ถูกกัดหรือต่อยนั้น จากสาเหตุดังกล่าวมดจึงจัดเป็นทั้งแมลงศัตรูทางการแพทย์และทางเกษตรกรรม นอกจากมดจะสร้างปัญหาแก่มนุษย์ สัตว์เลี้ยง และพื้นที่เกษตรกรรมแล้ว มดยังสร้างปัญหาในภาคอุตาหกรรมต่างๆอีกด้วย โดยเข้าไปอาศัยในอุปกรณ์หรือเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆทำให้เกิดความเสียหายอย่างมาก
ลักษณะโดยทั่วไปของมด
โครงสร้างภายนอกของมดประกอบด้วย ส่วนหัว ส่วนอก และส่วนท้อง แต่ละส่วนจะมีอวัยวะหรือลักษณะที่สำคัญต่างๆปรากฏอยู่ ลักษณะเหล่านี้จะแตกต่างกันไปในมดแต่ละกลุ่ม ส่วนลักษณะอื่นของมดที่แตกต่างจากแมลงชนิดอื่นอย่างเห็นได้ชัดคือ หนวดมีลักษณะหักงอแบบข้อศอก (Geniculate) แบ่งออกได้เป็น Scape และ Funicle ในเพศเมียจำนวนปล้องหนวดจะมี 4-12 ปล้อง ส่วนเพศผู้มี 9-13 ปล้อง ปากเป็นแบบกัดกิน มีฟันหรือกรามเรียกว่า Mandible ซึ่งมดบางชนิดจะมีฟันที่ใหญ่สามารถมองเห็นได้เด่นชัด ส่วนท้องปล้องที่ 1 ของมดจะไปรวมกันกับอกปล้องที่ 3 เรียกว่า Propedeum ท้องปล้องที่ 2 หรือ 3 มีลักษณะเป็นก้าน Abdominal pedicel ซึ่งอาจจะมีปุ่มหรือไม่มีก็ได้ ส่วนท้องปล้องที่เหลือรวมเรียกว่า gaster มดเพศเมียบางชนิดจะมีเหล็กในยื่นอออกมาให้เห็นจากปลายของส่วนท้อง มดจะมีตารวมขนาดใหญ่ 1 คู่ (Compound eyes) บางชนิดมีตาเดียว (Ocelli) ซึ่งโดยทั่วไปจะมี 3 ตาอยู่เหนือระหว่างตารวม ตาเดี่ยวจะไม่ได้ทำหน้าที่ในการรับภาพ
วงจรชีวิตมดเป็นแมลงที่มีการเจริญเติบโตแบบสมบูรณ์ (Complete metamorphosis) ในวงจรชีวิตประกอบด้วยระยะ ไข่ ตัวอ่อน ดักแด้ และตัวเต็มวัย
1. วรรณะมดแม่รังหรือมดราชินี มีขนาดใหญ่กว่ามดตัวอื่นที่อยู่ในรัง อกหนา ท้องใหญ่ และมักมีตาเดี่ยว สามารถสืบพันธุ์ได้ ทำหน้าที่ในการเริ่มต้นสร้างรังและวางไข่เพื่อผลิตสมาชิกวรรณะอื่นๆภายในรัง ตลอดจนควบคุมกิจกรรมต่างๆภายในรัง ผสมพันธุ์เพียงครั้งเดียวสามารถวางไข่ได้ตลอดชีวิตของมัน และเมื่อมดราชินีตาย รังมดทั้งรังก็จะค่อยๆ ล่มสลายลงในเวลาต่อมา เนื่องจากจะไม่มีมดงานเกิดใหม่ เพื่อมาหาอาหารเลี้ยงมดภายในรัง
2. วรรณะสืบพันธุ์ จะประกอบด้วยมดเพศผู้และมดเพศเมียที่สามารถผสมพันธุ์ได้ โดยทั่วไปจะมีปีก มีขนาดใหญ่กว่ามดงานแต่เล็กกว่ามดแม่รัง มดวรรณะนี้จะผลิตออกมาเมื่อรังมีขนาดใหญ่ สมาชิกภายในรังมีมาก มีหน้าที่ผสมพันธุ์เพื่อขยายรังใหม่ พบเป็นจำนวนน้อยกว่ามดงานในแต่ละรัง
3. วรรณะมดงาน เป็นมดเพศเมียที่เป็นหมัน ไม่มีปีก ไม่มีตา เป็นมดที่ออกหาอาหารและพบอยู่เสมอภายนอกรัง นอกจากหาอาหารแล้ว มดงานยังมีหน้าที่ในการสร้างรัง รักษารัง ดูแลตัวอ่อนและราชินีรวมถึงป้องกันรังด้วย อาจมีอายุได้นานถึง 7 ปี
นิเวศวิทยาและพฤติกรรม
มดเป็นแมลงที่มีกำเนิดมาช้านาน โดยเมื่อศึกษาจากซากฟอสซิล นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่ามีกำเนิดมานานกว่า 50 ล้านปี มดเป็นแมลงที่มีวิวัฒนาการสูง สามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมและสามารถอยู่รอดได้ดี เนื่องจากมดมีพฤติกรรมต่างๆที่เอื้อต่อการดำรงชีวิต พฤติกรรมเหล่านี้ประกอบด้วย
1. พฤติกรรมการผสมพันธุ์และการสร้างรัง
เมื่อประชากรภายในรังมีความหนาแน่นมากและต้องการขยายรัง สมาชิกมดในวรรณะผสมพันธุ์ทั้งเพศผู้และเพศเมีย จะบินออกจากรังเดิมเพื่อจับคู่กับมดจากรังอื่น โดยมดงานจะช่วยขุดรูให้เป็นทางออกของมดในวรรณะผสมพันธุ์ดังกล่าว มดที่มีวิวัฒนาการสูงจะจับคู่และผสมพันธุ์บนที่สูง เช่น บนต้นไม้ ส่วนมดที่มีวิวัฒนาการต่ำจะผสมพันธุ์บนพื้นดิน หลังจากผสมพันธุ์แล้วเฉพาะมดเพศเมียจะหาพื้นที่ที่เหมาะสมในการสร้างรังซึ่งจะแตกต่างกันออกไปแล้วแต่ชนิดของมด แล้วเริ่มต้นสร้างรังใหม่เมื่อพบพื้นที่ที่เหมาะสม โดยจะสลัดปีกออกกลายเป็นมดราชินีและเริ่มวางไข่ การวางไข่ครั้งแรกจะวางเป็นกลุ่มเล็กๆ โดยมดรุ่นแรกนี้จะเป็นมดงานเพียงวรรณะเดียว โดยมดราชินีจะทำหน้าที่หาอาหารมาเลี้ยงดูตัวอ่อนชุดแรกเองโดยการให้กินไข่ ชุดที่ไม่ได้รับการผสมพันธุ์ จนมดงานรุ่นแรกนี้เจริญเติบโตเป็นมดงานที่ทำหน้าที่ออกหาอาหารเองได้และเมื่อมีมดงานตัวเต็มวัยมากขึ้น มดราชินีจะทำหน้าที่วางไข่และควบคุมพฤติกรรมภายในรังเพียงอย่างเดียว ทั้งนี้ฤดูกาลและสภาพอากาศ ได้แก่ อุณหภูมิและความชื้นตลอดจนความอุดมสมบูรณ์ของอาหาร จะมีอิทธิพลต่อการผสมพันธุ์ และเมื่อภายในรังมีความอุดมสมบูรณ์มากขึ้น มดราชินีจะมีการผลิตมดวรรณะสืบพันธุ์เพศผู้และเพศเมียเพื่อทำหน้าที่ผสมพันธุ์ขยายรังต่อไป
2. พฤติกรรมการหาอาหาร
มดออกหาอาหารได้ทั้งกลางวันและกลางคืน กินอาหารได้หลากหลาย คือสามารถเป็นได้ทั้งตัวห้ำกินสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆหรือสิ่งมีชีวิตที่ตายแล้ว รวมทั้งกินได้ทั้งเมล็ดพืชหรือดูดกินอาหารที่เป็นของเหลว มดงานบางชนิดสามารถเก็บอาหารที่เป็นของเหลวไว้ในกระเพาะจนเต็ม แล้วนำกลับไปแจกจ่ายให้กับสมาชิกตัวอื่นในรังได้ โดยใช้วิธีสำรอกออกมาในเวลาประมาณไม่เกิน 20 ชั่วโมง
3. พฤติกรรมการติดต่อสื่อสาร
มดมีการติดต่อสื่อสารโดยปล่อยสารที่เรียกว่าฟีโรโมน (Pheromone) ที่มดตัวอื่นจะรับการติดต่อได้โดยอาศัยหนวดและขาคู่หน้า ฟีโรโมนมีหลายชนิด เช่น ฟีโรโมนนำทาง ฟีโรโมนเตือนภัยและฟีโรโมนอื่นๆที่มดจะปล่อยออกมาในเหตุการณ์ที่ต่างกัน
4. พฤติกรรมการใช้เสียง
มีรายงานว่ามดบางชนิดสามารถติดต่อสื่อสารกันได้โดยใช้เสียงเพื่อเป็นการเตือนภัยเรียกสมาชิกให้มาอยู่รวมกันเมื่อพบศัตรูหรือเรียกเพื่อนๆมาช่วยเมื่อมีอันตรายเกิดขึ้น
ชนิดมดที่สำคัญ
1. มดคันไฟ (Fire Ant) ลักษณะสำคัญ: มีสีเหลืองแดง มีขนที่หัวและตัว หนวดมี 10 ปล้อง อกแคบ โดยปล้องแรกจะมีลักษณะกลม ท้องรูปไข่มีลายขวางสีน้ำตาล มีเหล็กใน ลำตัวมีความยาว 7-8 มิลลิเมตร
ลักษณะทางชีววิทยา: ทำรังอยู่ใต้ดินที่ร่วนซุยด้วยดินทรายโดยสร้างเป็นเนินดินเล็กๆ รังหนึ่งๆมีรูทางเข้า ออกเล็กๆบนพื้นดินได้หลายรู ชอบอาหารที่มีโปรตีนสูงกินแมลงและซากสัตว์เล็กๆเป็นอาหารรวมทั้งเศษอาหารที่คนทิ้งไว้
ความสำคัญทางการแพทย์: ทำอันตรายกับคนได้ทั้งการกัดและการใช้เหล็กในต่อย ผู้ถูกต่อยจะรู้สึกเจ็บแสบคล้ายถูกไฟลวกจึงเรียกมดคันไฟ หลังจากถูกต่อยบริเวณแผลจะมีอาการบวมแดงขยายวงกว้างขึ้นและจุดที่ถูกต่อยจะใสคล้ายถูกไฟลวกและจะมีอาการคันมากเมื่อเกาผิวหนังจะบวมแดงแผ่กว้างขึ้น
ลักษณะทางชีววิทยา: เป็นมดที่ทำรังหลักหรือรังใหญ่ (mother colony) และมีรังย่อย (daughter colony) อยู่ใกล้แหล่งอาหาร พบตามบ้านที่อยู่อาศัย โดยรังย่อยเหล่านี้จะซ่อนอยาตามรอยแตกของผนัง ช่องว่างตามกำแพง กล่องสวิตช์ไฟ มดละเอียดชนิดนี้กินอาหารได้หลายชนิด ทั้งน้ำตาลและโปรตีน เป็นมดที่จัดว่าทำการควบคุมได้ยาก เนื่องจากมีขนาดเล็กหลบซ่อนตัวได้ง่าย หากินไกลออกจากรัง มีทั้งรังหลักและรังย่อยซึ่งยากต่อการค้นหา และพบว่าการใช้สารเคมีในการฉีดพ่นที่รังใดรังหนึ่งและทำให้ประชากรแตกกระจาย บางครั้งจะทำให้มดชนิดนี้ยิ่งแตกออกเป็นรังย่อยๆหรือที่เรียกว่า budding ซึ่งทำให้ควบคุมยากยิ่งขึ้น
ความสำคัญทางการแพทย์: มีเหล็กในแต่ไม่ปรากฏให้เห็น เมื่อถูกรบกวนจะป้องกันตัวด้วยการกัด ผู้ถูกกัดจะรู้สึกเจ็บและคันเพียงเล็กน้อย
ลักษณะทางชีววิทยา: ทำรังอยู่ในดิน พบตามบ้านเรือนที่อยู่อาศัย ชอบกินของหวาน เมื่อมากินอาหารแล้วจะปล่อยสิ่งขับถ่ายทำให้อาหารมีรสชาติเปลี่ยนไป เคลื่อนไหวรวดเร็ว
ความสำคัญทางการแพทย์: เมื่อถูกรบกวนจะป้องกันตัวโดยการกัด ผู้ถูกกัดจะรู้สึกเจ็บและคันเพียงเล็กน้อย
4. มดดำ(Crazy Ant)ลักษณะสำคัญ: มีสีน้ำตาลเข้มบางส่วนสีดำ ขนสีน้ำตาลเหลืองปกคลุมอยู่ทั่วไป หนวดมี 12 ปล้อง ลักษณะยาวเห็นได้ชัด ท้องรูปไข่ ความยาวของลำตัว 2.3-3 มิลลิเมตร
ลักษณะทางชีววิทยา: พบเห็นได้ทั่วไปทั้งในที่อยู่อาศัยและภายนอกอาคารบ้านเรือน มดงานออกหากินไกลออกไปจากรัง ดังนั้นจึงยากที่จะควบคุมมดชนิดนี้ได้ทั้งรัง เป็นมดที่เคลื่อนที่ได้เร็วมากโดยไม่ติดตามฟีโรโมนของมดตัวอื่นๆพบแพร่กระจายอยู่ทั่วโลก ทำรังตามรอยแตกของต้นไม้ หรือในดินใต้วัสดุต่างๆ ชอบกินน้ำหวาน บางครั้งอาจพบเห็นมดชนิดนี้ขนย้ายไข่ มดชนิดนี้จะไม่ทำอันตรายคนแม้ถูกรบกวน
ความสำคัญทางการแพทย์: เป็นมดที่ทำให้เกิดความรำคาญมากกว่าทำให้เกิดอันตราย
5. มดง่าม (Big headed)ลักษณะสำคัญ: มีสีน้ำตาลเข้ม กรามใหญ่สำหรับกระเทาะเปลือกของเมล็ดหรือโครงกระดูกภายนอกของแมลงที่เป็นเหยื่อ หนวดมี 11 ปล้อง อกปล้องแรกและปล้องที่สองนูนเห็นได้ชัด ส่วนท้องกว้างรูปไข่ความยาว 4.5-13 มิลลิเมตร
ลักษณะทางชีววิทยา: ทำรังอยู่ในดินร่วนมองผิวดินจะเห็นเป็นเพียงรูเปิดเล็กๆและมีดินร่วนกองอยู่รอบๆของขอบรูเข้าออก ชอบทำรังในที่ร่มชื้น กินแมลงและเนื้อสัตว์เป็นอาหาร
ความสำคัญทางการแพทย์: ทำอันตรายต่อคนโดยการกัด โดยอาการจะคล้ายคลึงกับอาการของคนที่ถูกมดคันไฟต่อยมาก
ลักษณะทางชีววิทยา: ทำรังบนต้นไม้ใหญ่ เช่น ต้นมะม่วง ชมพู่ โดยใช้ใบไม้เหล่านี้ประกอบเป็นรังโดยตัวอ่อนจะปล่อยสารเหนียวออกมาเชื่อมใบไม้ให้ประกบกัน เมื่อพบเหยื่อจะทำร้ายเหยื่อโดยการกัดและฉีดสารพิษออกมาทางปลายท้อง เมื่อเหยื่อได้รับบาดเจ็บจะช่วยกันลากกลับรัง
ความสำคัญทางการแพทย์: เมื่อถูกรบกวนจะทำอันตรายคนโดยการกัด ผู้ถูกกัดจะรู้สึกเจ็บปวดมาก ต่อมาจะเกิดอาการบวมคัน
วิธีการควบคุมมด
การควบคุมกำจัดมดถ้าต้องการให้ได้ผลดีและยั่งยืนเช่นเดียวกับการกำจัดแมลงทั่วไป อันดับแรก ต้องทราบชนิดของมดที่เราต้องการควบคุม รวมทั้งต้องทราบลักษณะ อุปนิสัย อาหารที่ชอบและแหล่งที่อยู่อาศัย เพื่อสามารถหาวิธีที่เหมาะสมในการกำจัดมดแต่ละชนิดและควรใช้หลายวิธีร่วมกัน วิธีการควบคุมโดยทั่วไป ได้แก่
1. การควบคุมโดยใช้สารเคมี
1.1 เลือกชนิดที่หาง่ายในบ้านเรือน เช่น น้ำมันหล่อลื่น น้ำส้มสายชู หยอดลงไปตามช่องที่มดเดิน เข้า-ออก จะสามารถฆ่ามดพวกนี้ได้
1.2 วัตถุอันตรายที่ใช้ในบ้านเรือนทั่วไป ส่วนใหญ่จะเน้นสารในกลุ่มไพรีทรอยด์สังเคราะห์ (Synthetic Pyrethroid) หรือวัตถุอันตรายที่มีฤทธิ์ตกค้างในกลุ่ม Organophosphate และ Carbamate
1.3 เหยื่อพิษ การใช้เหยื่อพิษมดเป็นวิธีที่ดีวิธีหนึ่งในการควบคุมกำจัดมด เหยื่อพิษที่ดีต้องไม่มีส่วนผสมของสารไล่ (Repellent) แต่จะประกอบด้วยอาหารที่สามารถดึงดูดให้มดมากินเหยื่อ รวมทั้งสารเคมีที่สามารถฆ่ามดได้และสารที่ทำให้เหยื่อสามารถผสมกันแล้วคงสภาพอยู่ได้ อาหารที่ผสมอยู่ในเหยื่อพิษจะแตกต่างกัน เช่น อาจเป็นพวกโปรตีนหรือน้ำตาล ดังนั้นควรเลือกใช้ให้เหมาะสมกับชนิดของมดซึ่งจะชอบอาหารแตกต่างกัน ปกติสารเคมีที่ผสมอยู่ในเหยื่อพิษเพื่อฆ่ามดจะมี 2 ประเภท คือ ประเภทออกฤทธิ์เร็วฆ่ามดได้ทันทีซึ่งประเภทนี้จะให้ผลเร็ว กับสารเคมีประเภทออกฤทธิ์ช้า ซึ่งประเภทนี้จะเห็นผลช้ากว่าแต่ให้ผลดีในระยะยาว โดยการให้มดนำเหยื่อพิษกลับไปป้อนสมาชิกภายในรัง (Trophallaxis) เพื่อเป็นการฆ่ามดวรรณะอื่นๆรวมทั้งตัวอ่อนที่อยู่ในรังด้วย การวางเหยื่อพิษควรวางในจุดที่เหมาะสมและควรวางหลายๆจุด เช่น บริเวณทางเดินของมดที่เข้ามาหาอาหาร บริเวณใกล้แหล่งน้ำ เป็นต้น และต้องวางเหยื่ออย่างต่อเนื่อง เปลี่ยนเหยื่อให้สดอยู่เสมอ และดูแลไม่ให้มีอาหารอย่างอื่นเป็นทางเลือกให้มดกินนอกเหนือจากเหยื่อพิษ
2. การควบคุมโดยการปรับสภาพแวดล้อม
ต้องไม่ให้มีแหล่งอาหารอยู่ในบ้านเรือนหรือบริเวณรอบบ้าน หมั่นสอดส่องดูแลภายในบ้านเรือนไม่ให้มีที่ที่เหมาะสมสำหรับมดมาทำรัง ไม่ควรปลูกต้นไม้ที่มีน้ำหวาน (Honeydew) ไว้ใกล้บ้าน เนื่องจากมีมดบางชนิดอาศัยกินน้ำหวานบนต้นไม้ หรือมีความสัมพันธ์อยู่ร่วมกับเพลี้ยอ่อนที่อาศัยดูดกินน้ำหวานบนต้นไม้ โดยเลี้ยงดูป้องกันภัยให้กับเพลี้ยอ่อน ขณะเดียวกัน มดจะได้รับอาหารจากตัวเพลี้ยอ่อนที่ปล่อยออกมา ดังนั้นถ้าปลูกต้นไม้ที่มีน้ำหวานไว้ใกล้บ้านจะเป็นช่องทางเดินให้มดเข้ามาอาศัยหากินหรือทำรังอยู่ในบ้านได้
3. การควบคุมโดยวิธีกล
โดยการใช้มือบี้หรือทำลาย ใช้ไม้กวาด กวาดทิ้งหรือทำลายรังโดยวิธีต่างๆ เช่น ใช้ไฟเผา ตัดรังทิ้งในกรณีที่รังอยู่บนต้นไม้ เป็นต้น