มด ครอบครองพี้นที่ส่วนใหญ่ ประมาณว่า ทั่วโลกพบมดที่จำแนกชนิดแล้ว 15,000 ชนิด

มดน้ำผึ้ง

มีลักษณะ หัว อก ท้อง และขาสีน้ำตาลอ่อนคล่้ายสีน้ำผึ้ง หัวเล็ก อกและเอวเรียวยาว ส่วนท้องใหญ่สีน้ำตาลเข้ม มีขนปกคลุมเล็กน้อย พฤติกรรม ชอบหากินตามยอดอ่อนของต้นไม้ มักชุมนุมอยู่บริเวณที่มีเพลี้ยอาศัยอยู่ ถิ่นอาศัย ป่าโปร่ง ชุมชน สถานภาพ พบบ่อย

 

มดตะลานยักษ์ปักใต้

มีลักษณะ เขี้ยวใหญ่ หัวใหญ่สีดำ อกต่อนข้างเล็กเรียวสีดำ ผิวเรียบเป็นมัน เอวคอด ท้องมีขนาดใหญ่สีน้ำตาลแดงหรือสีน้ำตาลไหม้ ขาดีน้ำตาลเข้มหรือดำ พฤติกรรม เดินหากินตามพื้น บางครั้งขึ้นบนต้นไม้เตี้ยๆ ทำรับขนาดใหญ่ในดิน ถิ่นอาศัย ป่าดงดิบ สถานภาพ พบบ่อย

 

มดตะลานป้องขี้เถ้า

มีลักษณะ หัวและอกค่อนข้างใหญ่สำดำปนเทา คล้ายสีขี้เถ้า ผิวเรียบเป็นมัน ท้องสีดำปนเทา ช่วงต่อกับเอวมีเหลือบสีทองมันวาวเล็กน้อย ขาสีดำ พฤติกรรม เดินหากินตามพื้น บางครั้งขึ้นบนต้นไม้เตี้ยๆ ถิ่นอาศัย ป่าโปร่ง สถานภาพ พบบ่อย


มดตะลานป่าหัวแดง

มีลักษณะ หัวใหญ่สีน้ำตาลแดง ลำตัวและขาสีดำพฤติกรรม เดินหากินตามพุ้มไม้ และดอกไม้ ถิ่นอาศัย ป่าดงดิบ พื้นที่เกษตกรรม สถานภาพ พบบ่อย
 

มดฮี้ดำ

มีลักษณะ หนวดสามปล้อง ส่วนปลายมีขนาดยาวกว่าปล้องอื่นมาก หัว อก และท้องสีน้ำตาลเข้ม ผิวเรียบ ส่วนท้องมีรูปร่างคล้ายรูปหัวใจ ปลายท้องแหลมพฤติกรรม ชอบเดินหากินบนต้นไม้ใหญ่ ถิ่นอาศัย ป่าดงดิบ สถานภาพ พบบ่อย

 

มดง่ามคู่สีเทา

มีลักษณะ หัว ลำตัว และท้องสีเทาดำ ตาโปนใหญ่ หัว อก และท้องส่วนที่ติดกับเอวมีลักษณะเป็นร่องคล้ายนิ้วมือ ปล้องอกที่อยู่ใกล้ส่วนเอวยื่นแหลมคล้ายหนามคู่ ลำตัวและขามีขนปกคลุมบางๆ ปล้องท้องบางปล้องคอดเล็กน้อยพฤติกรรม ทำรังใต้ดิน ถิ่นอาศัย ป่าดงดิบ ป่าโปร่ง สถานภาพ พบบ่อย

 

มดง่ามคู่สีดำ

มีลักษณะ หัว ลำตัว และท้องสีดำ ตาโปนใหญ่ หัว อก ปล้องแรกมีร่องคล้ายนิ้วมือ ส่วนท้องเรียบ ไม่มีร่อง อกค่อนข้างยาว ปล้องอกที่อยู่ใกล้ส่วนเอวยื่อนแหลมคล้ายหนามคู่ ลำตัวและขามีขนปกคลุมบางๆ ปล้องท้องบางปล้องคอดเล็กน้อยพฤติกรรม หากินตามพื้น และขึ้นบนต้นไม้เตี้ยๆ ในบ้างครั้ง ถิ่นอาศัย ป่าโปร่ง สถานภาพ พบบ่อย

มดก้นหอยหลังง่าม

มีลักษณะ หัวสีดำ อก เอว และขาสีน้ำตาลเข้ม ท้องสีดำ ผิวเรียบพฤติกรรม ชอบอยู่รวมกลุ่มตามยอดไม้ เพื่อกินน้ำหวานสที่ผิวต้นไม้ผลิตออกมา เป็นวิธีการที่ต้นไม้อาศัยมดช่วยในการกำจัดเพลี้ยและแมลงสัตรูพืชอื่น โดยใช้น้ำหวานล่อให้มดมาอยู่รวมกัน ถิ่นอาศัย ป่าดงดิบ ป่าโปร่ง จากที่ราบไปจนถึงระดับความสูง 1,000 เมตร สถานภาพ พบบ่อย

 

มดกระโดดเหลือง

มีลักษณะ หัว อก ท้อง และขาสีน้ำตาลคล้ายสีน้ำผึ้ง หัวมีขนาดใหญ่รูปทรงเป็นสี่เหลี่ยม อกและเเอวเรียวยาว ท้องใหญ่กว่าเอวเล็กน้อย ปากมีเขี้ยวยาวกางได้ 180 องศา พฤติกรรม ทำรังในโพรงดิน หากมีอันตรายมักกระโดดหนีด้วยความเร็ว ถิ่นอาศัย ป่าดงดิบ ป่าชายเลน สถานภาพ พบบ่อย

 

มดไอ้ชื่นดำ

มีลักษณะ หัว อก ท้อง และขาสีดำ ผิวของส่วนหัวและอกด้านบนมีลายเส้นโค้งคล้ายลายบนนิ้วมือ ท้องเรียวยาว ผิวเรียบ และมีขนปกคลุมเล็กน้อยพฤติกรรม เดินหากินตามพื้นและต้นไม้ ถิ่นอาศัย ป่าดงดิบ ป่าโปร่ง สถานภาพ พบบ่อย

 

มดแดง

มีลักษณะ ลำตัวสีแดงหรือแดงอมส้ม พฤติกรรม อาศัยอยู่ในรังทำด้วยใบไม้ คนทางภาคอีสานนิยมนำตัวอ่อนและไข่มาปรุงอาหาร ถิ่นอาศัย ป่าโปร่าง ป่าละเมอะ ส่วนผลไม้ สถานภาพ พบบ่อย

 

มดปุยฝ้ายป่า

มีลักษณะ หัว อก และท้องสำดำ ขาสีน้ำตาล มีขนปกคลุมบางๆ ผิวทั้งตัวมีลักษณะขรุขระ ท้องค่อนข้างใหญ่ พฤติกรรม สามารถฉีดฟองที่มีกรดออกมาจากส่วนปลายท้องเพื่อป้องกันตัว ถิ่นอาศัย ป่าดงดิบ ป่าดิบเขา ป่าโปร่ง สถานภาพ พบไม่บ่อย

 

มดหนามกระดิงดำ

มีลักษณะ หัวเล็ก ส่วนท้องกลมใหญ่ หัวและลำตัวสีดำ ท้องสีน้ำตาลดำ อก หลัง และเอวมีหนามแหลมสามคู่ และหนามบริเวณอกไม่ยาวมากนัก ผิวบริเวณหัวและตำตัวขรุขระ พฤติกรรม เดินหากินตามต้นไม้ ถิ่นอาศัย ป่าทั่วไป สถานภาพ พบบ่อย

 

มดหนามเคียวใหญ่

มีลักษณะ หัวเล็ก ส่วนท้องกลมใหญ่ หัวสีน้ำตาลเข้ม อกและท้องสีน้ำตาลแดง บริเวณอก หลัง เอว มีหนามแหลมสามคู่ โดยเฉพาะหามที่เอวมีขนาดใหญ่ และส่วนปลายแยกออกจากกัน พฤติกรรม สร้างรังถาวรในดินค่อนข้างลึก แต่ลรังมีมดงานมากว่า 1 หมื่นตัว ถิ่นอาศัย ป่าดงดิบ สถานภาพ พบบ่อย

 

มดหนามกระทิงขนทอง

มีลักษณะ หัวเล็กค่อนข้างกลมและผิวเรียบ ส่วนท้องกลมใหญ่และมียนสีทองปกคลุมบางๆ หัวและลำตัวสำน้ำตาลดำ ห้องสีน้ำตาลทอง ด้าน้างของอกมีเขาแหลมสามคู่ พฤติกรรม สร้างรังด้วยเศษไม้ หญ้าแห้ง โดยใช้เส้นใยจากตัวอ่อนช่วยประสาน สร้างรังทั้งบนดินและบนต้เนไม้ ถิ่นอาศัย ป่าโปร่ง ป่าละเมาะ สถานภาพ พบบ่อย

 

มดหนามปล้องไผ่

มีลักษณะ หัว อก และท้องดำเทา ผิวเรียบเป็นมัน หัวแบน อกปล้องแรกค่อนข้างใหญ่ ด้านข้างของปล้องเอวมีเขาแหลมยื่นออกมา ท้องกลมมีขนปกคลุมเล็กน้อย ขาสีน้ำตาลเข้ม พฤติกรรม ชอบเดินหาอาหารตามยอดอ่่อนของต้นไม้ มักชุมนุมรวมกันบริเวณที่มีเพลี้ยอาศัย ถิ่นอาศัย ป่าดงดิบ ป่าโปร่ง สถานภาพ พบบ่อย

 

มดหนามหีบทองง่าม

มีลักษณะ หัวเล็ก อกมีรูปทรงคล้ายกล่อง มุมส่วนอกมีหลักแหลมเอวแบน มีหนามสองคู่ด้านบนและด้วนล่าง ส่วนท้องกลมใหญ่ หัว อก และท้องสีเทาเข้ม ทั้้งตัวมีขนสีทองปกคลุม พฤติกรรม สร้างรังอยู่ในดินหรือในขอนไม้ผุ กินหนอนและแมลงศัตรูพืชเป็นอาหาร ถิ่นอาศัย ป่าดงดิบ ป่าโปร่ง ป่าละเมาะ สถานภาพ พบบ่อย

 

มดตะนอยดำใหญ่

มีลักษณะ หัวเล็ก หัว อก ท้อง และขาสีดำ อกเล็กและแบ่งเป็นปล้องๆ เอวเรียวยาวแบ่งเป็นปล้องๆ ส่วนท้องใหญ่และเรียวยาวมีขนปกคลุมเล็กน้อย ขาค่อนข้างใหญ่เมื่อเทียบกับลำตัว และมีขนปกคลุม พฤติกรรม เดินหากินบนต้นไม้ ถิ่นอาศัย ป่าดงดิบ ป่าโปร่ง ป่าละเมาะ สถานภาพ พบบ่อย

 

มดตะนอยอกส้ม

มีลักษณะ หนวดสำน้ำตาล หัวใหญ่สีดำ อกสีส้มเล็กคอดเป็นปล้องๆ โคนขาสีดำ แข้งและปลายขาสีดำ เอวปล้องที่ติดกับปล้องท้องสีดำ ท้องสีดำ ผิวเรียบเป็นมันทั้งตัว ไม่มีขนปกคลุม พฤติกรรม เดินหากินตามพุ้มไม้ ถิ่นอาศัย ป่าดงดิบ พื้นที่เกษตกรรม สถานภาพ พบบ่อย

   
     

   
     


มด
เป็นแมลงชนิดหนึ่ง สามารถพบได้ทั่วไปตั้งแต่เขตร้อน (
Tropics) จนถึงบริเวณใกล้เขตขั้วโลก (Subartic) สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ดีทั้งในสภาพแวดล้อมทั่วไปในพื้นที่เกษตรกรรมและบริเวณที่อยู่อาศัย จนมีคำกล่าวว่า มดครอบครองพื้นที่ส่วนใหญ่ ประมาณว่าทั่วโลกพบมดที่จำแนกชนิดแล้ว 15,000 ชนิด ส่วนในประเทศไทยคณะวนศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ รายงานว่ามีการพบมดแล้วทั้งหมด วงศ์ย่อย 86 สกุล 512 ชนิด โดยมดจัดเป็นแมลงสังคมชนิดหนึ่งที่มีพฤติกรรมความเป็นอยู่แตกต่างจากแมลงอื่นๆซึ่งโดยทั่วไปแล้วแมลงสังคมมีอยู่ อันดับ คือ อันดับ Hymenoptera ได้แก่ กลุ่มของ ผึ้ง ต่อ แตนและมด และอันดับ Isoptera ได้แก่ ปลวก

มดเป็นแมลงสังคมที่อยู่ในวงศ์ Formicidae จัดเป็นแมลงสังคมแท้จริงชั้นสูงที่ขนาดรังมีประชากรเป็นจำนวนมาก มีการสร้างรังอย่างประณีต และสมาชิกภายในรังมีการแบ่งชั้นวรรณะแยกออกจากกันให้เห็นอย่างชัดเจนทั้งรูปร่าง ลักษณะและหน้าที่ โดยมีการติดต่อสื่อสารกันระหว่างสมาชิกภายในรัง มดมีบทบาทต่อคนในหลายลักษณะทั้งที่เป็นแมลงทำลายศัตรูพืชผลทางการเกษตรในแปลงปลูกและในโรงเก็บ ทำความเสียหายทางด้านปศุสัตว์ โดยเข้ากัดกินตัวอ่อน ส่วนในบ้านเรือนของคนนั้น มดจะเข้ามาก่อความรำคาญและทำความเสียหาย โดยเข้ามามีส่วนแบ่งในอาหารและที่อยู่อาศัยของคน นอกจากนั้นมดยังสามารถทำอันตรายกับคนโดยตรง โดยมดบางชนิดสามารถกัดหรือต่อยด้วยเหล็กไน หรือทั้งกัดและต่อยทำให้เกิดความเจ็บปวด เกิดอาการแพ้ หรือเกิดแผลการติดเชื้อบริเวณที่ถูกกัดหรือต่อยนั้น จากสาเหตุดังกล่าวมดจึงจัดเป็นทั้งแมลงศัตรูทางการแพทย์และทางเกษตรกรรม นอกจากมดจะสร้างปัญหาแก่มนุษย์ สัตว์เลี้ยง และพื้นที่เกษตรกรรมแล้ว มดยังสร้างปัญหาในภาคอุตาหกรรมต่างๆอีกด้วย โดยเข้าไปอาศัยในอุปกรณ์หรือเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆทำให้เกิดความเสียหายอย่างมาก

ลักษณะโดยทั่วไปของมด

โครงสร้างภายนอกของมดประกอบด้วย ส่วนหัว ส่วนอก และส่วนท้อง แต่ละส่วนจะมีอวัยวะหรือลักษณะที่สำคัญต่างๆปรากฏอยู่ ลักษณะเหล่านี้จะแตกต่างกันไปในมดแต่ละกลุ่ม ส่วนลักษณะอื่นของมดที่แตกต่างจากแมลงชนิดอื่นอย่างเห็นได้ชัดคือ หนวดมีลักษณะหักงอแบบข้อศอก (Geniculate) แบ่งออกได้เป็น Scape และ Funicle ในเพศเมียจำนวนปล้องหนวดจะมี 4-12 ปล้อง ส่วนเพศผู้มี 9-13 ปล้อง ปากเป็นแบบกัดกิน มีฟันหรือกรามเรียกว่า Mandible ซึ่งมดบางชนิดจะมีฟันที่ใหญ่สามารถมองเห็นได้เด่นชัด ส่วนท้องปล้องที่ ของมดจะไปรวมกันกับอกปล้องที่ เรียกว่า Propedeum ท้องปล้องที่ หรือ มีลักษณะเป็นก้าน Abdominal pedicel ซึ่งอาจจะมีปุ่มหรือไม่มีก็ได้ ส่วนท้องปล้องที่เหลือรวมเรียกว่า gaster มดเพศเมียบางชนิดจะมีเหล็กในยื่นอออกมาให้เห็นจากปลายของส่วนท้อง มดจะมีตารวมขนาดใหญ่ คู่ (Compound eyes) บางชนิดมีตาเดียว (Ocelli) ซึ่งโดยทั่วไปจะมี ตาอยู่เหนือระหว่างตารวม ตาเดี่ยวจะไม่ได้ทำหน้าที่ในการรับภาพ

 ชีววิทยาและนิเวศวิทยาของมด

วงจรชีวิตมดเป็นแมลงที่มีการเจริญเติบโตแบบสมบูรณ์ (Complete metamorphosis) ในวงจรชีวิตประกอบด้วยระยะ ไข่ ตัวอ่อน ดักแด้ และตัวเต็มวัย

 เนื่องจากมดเป็นแมลงสังคม สมาชิกที่อยู่ในรังจะมีการแบ่งชั้นวรรณะแยกออกจากกันให้เห็นอย่างชัดเจน ประกอบด้วย

1. วรรณะมดแม่รังหรือมดราชินี มีขนาดใหญ่กว่ามดตัวอื่นที่อยู่ในรัง อกหนา ท้องใหญ่ และมักมีตาเดี่ยว สามารถสืบพันธุ์ได้ ทำหน้าที่ในการเริ่มต้นสร้างรังและวางไข่เพื่อผลิตสมาชิกวรรณะอื่นๆภายในรัง ตลอดจนควบคุมกิจกรรมต่างๆภายในรัง ผสมพันธุ์เพียงครั้งเดียวสามารถวางไข่ได้ตลอดชีวิตของมัน และเมื่อมดราชินีตาย รังมดทั้งรังก็จะค่อยๆ ล่มสลายลงในเวลาต่อมา เนื่องจากจะไม่มีมดงานเกิดใหม่ เพื่อมาหาอาหารเลี้ยงมดภายในรัง

2. วรรณะสืบพันธุ์ จะประกอบด้วยมดเพศผู้และมดเพศเมียที่สามารถผสมพันธุ์ได้ โดยทั่วไปจะมีปีก มีขนาดใหญ่กว่ามดงานแต่เล็กกว่ามดแม่รัง มดวรรณะนี้จะผลิตออกมาเมื่อรังมีขนาดใหญ่ สมาชิกภายในรังมีมาก มีหน้าที่ผสมพันธุ์เพื่อขยายรังใหม่ พบเป็นจำนวนน้อยกว่ามดงานในแต่ละรัง

3. วรรณะมดงาน เป็นมดเพศเมียที่เป็นหมัน ไม่มีปีก ไม่มีตา เป็นมดที่ออกหาอาหารและพบอยู่เสมอภายนอกรัง นอกจากหาอาหารแล้ว มดงานยังมีหน้าที่ในการสร้างรัง รักษารัง ดูแลตัวอ่อนและราชินีรวมถึงป้องกันรังด้วย อาจมีอายุได้นานถึง ปี

นิเวศวิทยาและพฤติกรรม

มดเป็นแมลงที่มีกำเนิดมาช้านาน โดยเมื่อศึกษาจากซากฟอสซิล นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่ามีกำเนิดมานานกว่า 50 ล้านปี มดเป็นแมลงที่มีวิวัฒนาการสูง สามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมและสามารถอยู่รอดได้ดี เนื่องจากมดมีพฤติกรรมต่างๆที่เอื้อต่อการดำรงชีวิต พฤติกรรมเหล่านี้ประกอบด้วย

1. พฤติกรรมการผสมพันธุ์และการสร้างรัง

เมื่อประชากรภายในรังมีความหนาแน่นมากและต้องการขยายรัง สมาชิกมดในวรรณะผสมพันธุ์ทั้งเพศผู้และเพศเมีย จะบินออกจากรังเดิมเพื่อจับคู่กับมดจากรังอื่น โดยมดงานจะช่วยขุดรูให้เป็นทางออกของมดในวรรณะผสมพันธุ์ดังกล่าว มดที่มีวิวัฒนาการสูงจะจับคู่และผสมพันธุ์บนที่สูง เช่น บนต้นไม้ ส่วนมดที่มีวิวัฒนาการต่ำจะผสมพันธุ์บนพื้นดิน หลังจากผสมพันธุ์แล้วเฉพาะมดเพศเมียจะหาพื้นที่ที่เหมาะสมในการสร้างรังซึ่งจะแตกต่างกันออกไปแล้วแต่ชนิดของมด แล้วเริ่มต้นสร้างรังใหม่เมื่อพบพื้นที่ที่เหมาะสม โดยจะสลัดปีกออกกลายเป็นมดราชินีและเริ่มวางไข่ การวางไข่ครั้งแรกจะวางเป็นกลุ่มเล็กๆ โดยมดรุ่นแรกนี้จะเป็นมดงานเพียงวรรณะเดียว โดยมดราชินีจะทำหน้าที่หาอาหารมาเลี้ยงดูตัวอ่อนชุดแรกเองโดยการให้กินไข่ ชุดที่ไม่ได้รับการผสมพันธุ์ จนมดงานรุ่นแรกนี้เจริญเติบโตเป็นมดงานที่ทำหน้าที่ออกหาอาหารเองได้และเมื่อมีมดงานตัวเต็มวัยมากขึ้น มดราชินีจะทำหน้าที่วางไข่และควบคุมพฤติกรรมภายในรังเพียงอย่างเดียว ทั้งนี้ฤดูกาลและสภาพอากาศ ได้แก่ อุณหภูมิและความชื้นตลอดจนความอุดมสมบูรณ์ของอาหาร จะมีอิทธิพลต่อการผสมพันธุ์ และเมื่อภายในรังมีความอุดมสมบูรณ์มากขึ้น มดราชินีจะมีการผลิตมดวรรณะสืบพันธุ์เพศผู้และเพศเมียเพื่อทำหน้าที่ผสมพันธุ์ขยายรังต่อไป

2. พฤติกรรมการหาอาหาร

มดออกหาอาหารได้ทั้งกลางวันและกลางคืน กินอาหารได้หลากหลาย คือสามารถเป็นได้ทั้งตัวห้ำกินสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆหรือสิ่งมีชีวิตที่ตายแล้ว รวมทั้งกินได้ทั้งเมล็ดพืชหรือดูดกินอาหารที่เป็นของเหลว มดงานบางชนิดสามารถเก็บอาหารที่เป็นของเหลวไว้ในกระเพาะจนเต็ม แล้วนำกลับไปแจกจ่ายให้กับสมาชิกตัวอื่นในรังได้ โดยใช้วิธีสำรอกออกมาในเวลาประมาณไม่เกิน 20 ชั่วโมง

3. พฤติกรรมการติดต่อสื่อสาร

มดมีการติดต่อสื่อสารโดยปล่อยสารที่เรียกว่าฟีโรโมน (Pheromone) ที่มดตัวอื่นจะรับการติดต่อได้โดยอาศัยหนวดและขาคู่หน้า ฟีโรโมนมีหลายชนิด เช่น ฟีโรโมนนำทาง ฟีโรโมนเตือนภัยและฟีโรโมนอื่นๆที่มดจะปล่อยออกมาในเหตุการณ์ที่ต่างกัน

4. พฤติกรรมการใช้เสียง

มีรายงานว่ามดบางชนิดสามารถติดต่อสื่อสารกันได้โดยใช้เสียงเพื่อเป็นการเตือนภัยเรียกสมาชิกให้มาอยู่รวมกันเมื่อพบศัตรูหรือเรียกเพื่อนๆมาช่วยเมื่อมีอันตรายเกิดขึ้น

ชนิดมดที่สำคัญ

1. มดคันไฟ (Fire Ant)  ลักษณะสำคัญ: มีสีเหลืองแดง มีขนที่หัวและตัว หนวดมี 10 ปล้อง อกแคบ โดยปล้องแรกจะมีลักษณะกลม ท้องรูปไข่มีลายขวางสีน้ำตาล มีเหล็กใน ลำตัวมีความยาว 7-8 มิลลิเมตร

ลักษณะทางชีววิทยา: ทำรังอยู่ใต้ดินที่ร่วนซุยด้วยดินทรายโดยสร้างเป็นเนินดินเล็กๆ รังหนึ่งๆมีรูทางเข้า ออกเล็กๆบนพื้นดินได้หลายรู ชอบอาหารที่มีโปรตีนสูงกินแมลงและซากสัตว์เล็กๆเป็นอาหารรวมทั้งเศษอาหารที่คนทิ้งไว้

ความสำคัญทางการแพทย์: ทำอันตรายกับคนได้ทั้งการกัดและการใช้เหล็กในต่อย ผู้ถูกต่อยจะรู้สึกเจ็บแสบคล้ายถูกไฟลวกจึงเรียกมดคันไฟ หลังจากถูกต่อยบริเวณแผลจะมีอาการบวมแดงขยายวงกว้างขึ้นและจุดที่ถูกต่อยจะใสคล้ายถูกไฟลวกและจะมีอาการคันมากเมื่อเกาผิวหนังจะบวมแดงแผ่กว้างขึ้น 

2. มดละเอียด (Pharaohs Ant)ลักษณะสำคัญ: มีสีเหลืองจนถึงสีน้ำตาลอ่อนหรือสีแดงสว่างใส ส่วนท้องมีสีเข้มเกือบดำ หนวดมี 12 ปล้อง ตาเล็ก มีขน อกยาวแคบ ลำตัวมีความยาว 1.5-2 มิลลิเมตร

ลักษณะทางชีววิทยา: เป็นมดที่ทำรังหลักหรือรังใหญ่ (mother colony) และมีรังย่อย (daughter colony) อยู่ใกล้แหล่งอาหาร พบตามบ้านที่อยู่อาศัย โดยรังย่อยเหล่านี้จะซ่อนอยาตามรอยแตกของผนัง ช่องว่างตามกำแพง กล่องสวิตช์ไฟ มดละเอียดชนิดนี้กินอาหารได้หลายชนิด ทั้งน้ำตาลและโปรตีน เป็นมดที่จัดว่าทำการควบคุมได้ยาก เนื่องจากมีขนาดเล็กหลบซ่อนตัวได้ง่าย หากินไกลออกจากรัง มีทั้งรังหลักและรังย่อยซึ่งยากต่อการค้นหา และพบว่าการใช้สารเคมีในการฉีดพ่นที่รังใดรังหนึ่งและทำให้ประชากรแตกกระจาย บางครั้งจะทำให้มดชนิดนี้ยิ่งแตกออกเป็นรังย่อยๆหรือที่เรียกว่า budding ซึ่งทำให้ควบคุมยากยิ่งขึ้น

ความสำคัญทางการแพทย์: มีเหล็กในแต่ไม่ปรากฏให้เห็น เมื่อถูกรบกวนจะป้องกันตัวด้วยการกัด ผู้ถูกกัดจะรู้สึกเจ็บและคันเพียงเล็กน้อย 

  3. มดเหม็น(Ghost Ant)ลักษณะสำคัญ: มีสีแดงสนิมปนสีน้ำตาลเข้ม ส่วนท้องใส หนวดมี 12 ปล้อง อกยาวแคบ ลำตัวมีความยาว 2.5-3.5 มิลลิเมตร

ลักษณะทางชีววิทยา: ทำรังอยู่ในดิน พบตามบ้านเรือนที่อยู่อาศัย ชอบกินของหวาน เมื่อมากินอาหารแล้วจะปล่อยสิ่งขับถ่ายทำให้อาหารมีรสชาติเปลี่ยนไป เคลื่อนไหวรวดเร็ว

ความสำคัญทางการแพทย์: เมื่อถูกรบกวนจะป้องกันตัวโดยการกัด ผู้ถูกกัดจะรู้สึกเจ็บและคันเพียงเล็กน้อย

4. มดดำ(Crazy Ant)ลักษณะสำคัญ: มีสีน้ำตาลเข้มบางส่วนสีดำ ขนสีน้ำตาลเหลืองปกคลุมอยู่ทั่วไป หนวดมี 12 ปล้อง ลักษณะยาวเห็นได้ชัด ท้องรูปไข่ ความยาวของลำตัว 2.3-3 มิลลิเมตร

ลักษณะทางชีววิทยา: พบเห็นได้ทั่วไปทั้งในที่อยู่อาศัยและภายนอกอาคารบ้านเรือน มดงานออกหากินไกลออกไปจากรัง ดังนั้นจึงยากที่จะควบคุมมดชนิดนี้ได้ทั้งรัง เป็นมดที่เคลื่อนที่ได้เร็วมากโดยไม่ติดตามฟีโรโมนของมดตัวอื่นๆพบแพร่กระจายอยู่ทั่วโลก ทำรังตามรอยแตกของต้นไม้ หรือในดินใต้วัสดุต่างๆ ชอบกินน้ำหวาน บางครั้งอาจพบเห็นมดชนิดนี้ขนย้ายไข่ มดชนิดนี้จะไม่ทำอันตรายคนแม้ถูกรบกวน

ความสำคัญทางการแพทย์: เป็นมดที่ทำให้เกิดความรำคาญมากกว่าทำให้เกิดอันตราย 

5. มดง่าม (Big headed)ลักษณะสำคัญ: มีสีน้ำตาลเข้ม กรามใหญ่สำหรับกระเทาะเปลือกของเมล็ดหรือโครงกระดูกภายนอกของแมลงที่เป็นเหยื่อ หนวดมี 11 ปล้อง อกปล้องแรกและปล้องที่สองนูนเห็นได้ชัด ส่วนท้องกว้างรูปไข่ความยาว 4.5-13 มิลลิเมตร

ลักษณะทางชีววิทยา: ทำรังอยู่ในดินร่วนมองผิวดินจะเห็นเป็นเพียงรูเปิดเล็กๆและมีดินร่วนกองอยู่รอบๆของขอบรูเข้าออก ชอบทำรังในที่ร่มชื้น กินแมลงและเนื้อสัตว์เป็นอาหาร

ความสำคัญทางการแพทย์: ทำอันตรายต่อคนโดยการกัด โดยอาการจะคล้ายคลึงกับอาการของคนที่ถูกมดคันไฟต่อยมาก

  6. มดแดง (Green Tree Ant/ Weaver Ant)ลักษณะสำคัญ: มีสีแดงสนิม หัวและส่วนอกมีขนสั้นๆสีขาว หนวดมี 12 ปล้อง อกยาวโดยอกปล้องแรกโค้งอกปล้องที่สองคลอดคล้ายอาน และอกปล้องที่สามกลม ขาเรียวยาว ท้องสั้น ความยาว 7-11 มิลลิเมตร

ลักษณะทางชีววิทยา: ทำรังบนต้นไม้ใหญ่ เช่น ต้นมะม่วง ชมพู่ โดยใช้ใบไม้เหล่านี้ประกอบเป็นรังโดยตัวอ่อนจะปล่อยสารเหนียวออกมาเชื่อมใบไม้ให้ประกบกัน เมื่อพบเหยื่อจะทำร้ายเหยื่อโดยการกัดและฉีดสารพิษออกมาทางปลายท้อง เมื่อเหยื่อได้รับบาดเจ็บจะช่วยกันลากกลับรัง

ความสำคัญทางการแพทย์: เมื่อถูกรบกวนจะทำอันตรายคนโดยการกัด ผู้ถูกกัดจะรู้สึกเจ็บปวดมาก ต่อมาจะเกิดอาการบวมคัน 

 วิธีการควบคุมมด

การควบคุมกำจัดมดถ้าต้องการให้ได้ผลดีและยั่งยืนเช่นเดียวกับการกำจัดแมลงทั่วไป อันดับแรก ต้องทราบชนิดของมดที่เราต้องการควบคุม รวมทั้งต้องทราบลักษณะ อุปนิสัย อาหารที่ชอบและแหล่งที่อยู่อาศัย เพื่อสามารถหาวิธีที่เหมาะสมในการกำจัดมดแต่ละชนิดและควรใช้หลายวิธีร่วมกัน วิธีการควบคุมโดยทั่วไป ได้แก่

1. การควบคุมโดยใช้สารเคมี

1.1 เลือกชนิดที่หาง่ายในบ้านเรือน เช่น น้ำมันหล่อลื่น น้ำส้มสายชู หยอดลงไปตามช่องที่มดเดิน เข้า-ออก จะสามารถฆ่ามดพวกนี้ได้

1.2 วัตถุอันตรายที่ใช้ในบ้านเรือนทั่วไป ส่วนใหญ่จะเน้นสารในกลุ่มไพรีทรอยด์สังเคราะห์ (Synthetic Pyrethroid) หรือวัตถุอันตรายที่มีฤทธิ์ตกค้างในกลุ่ม Organophosphate และ Carbamate

1.3 เหยื่อพิษ การใช้เหยื่อพิษมดเป็นวิธีที่ดีวิธีหนึ่งในการควบคุมกำจัดมด เหยื่อพิษที่ดีต้องไม่มีส่วนผสมของสารไล่ (Repellent) แต่จะประกอบด้วยอาหารที่สามารถดึงดูดให้มดมากินเหยื่อ รวมทั้งสารเคมีที่สามารถฆ่ามดได้และสารที่ทำให้เหยื่อสามารถผสมกันแล้วคงสภาพอยู่ได้ อาหารที่ผสมอยู่ในเหยื่อพิษจะแตกต่างกัน เช่น อาจเป็นพวกโปรตีนหรือน้ำตาล ดังนั้นควรเลือกใช้ให้เหมาะสมกับชนิดของมดซึ่งจะชอบอาหารแตกต่างกัน ปกติสารเคมีที่ผสมอยู่ในเหยื่อพิษเพื่อฆ่ามดจะมี ประเภท คือ ประเภทออกฤทธิ์เร็วฆ่ามดได้ทันทีซึ่งประเภทนี้จะให้ผลเร็ว กับสารเคมีประเภทออกฤทธิ์ช้า ซึ่งประเภทนี้จะเห็นผลช้ากว่าแต่ให้ผลดีในระยะยาว โดยการให้มดนำเหยื่อพิษกลับไปป้อนสมาชิกภายในรัง (Trophallaxis) เพื่อเป็นการฆ่ามดวรรณะอื่นๆรวมทั้งตัวอ่อนที่อยู่ในรังด้วย การวางเหยื่อพิษควรวางในจุดที่เหมาะสมและควรวางหลายๆจุด เช่น บริเวณทางเดินของมดที่เข้ามาหาอาหาร บริเวณใกล้แหล่งน้ำ เป็นต้น และต้องวางเหยื่ออย่างต่อเนื่อง เปลี่ยนเหยื่อให้สดอยู่เสมอ และดูแลไม่ให้มีอาหารอย่างอื่นเป็นทางเลือกให้มดกินนอกเหนือจากเหยื่อพิษ

2. การควบคุมโดยการปรับสภาพแวดล้อม

ต้องไม่ให้มีแหล่งอาหารอยู่ในบ้านเรือนหรือบริเวณรอบบ้าน หมั่นสอดส่องดูแลภายในบ้านเรือนไม่ให้มีที่ที่เหมาะสมสำหรับมดมาทำรัง ไม่ควรปลูกต้นไม้ที่มีน้ำหวาน (Honeydew) ไว้ใกล้บ้าน เนื่องจากมีมดบางชนิดอาศัยกินน้ำหวานบนต้นไม้ หรือมีความสัมพันธ์อยู่ร่วมกับเพลี้ยอ่อนที่อาศัยดูดกินน้ำหวานบนต้นไม้ โดยเลี้ยงดูป้องกันภัยให้กับเพลี้ยอ่อน ขณะเดียวกัน มดจะได้รับอาหารจากตัวเพลี้ยอ่อนที่ปล่อยออกมา ดังนั้นถ้าปลูกต้นไม้ที่มีน้ำหวานไว้ใกล้บ้านจะเป็นช่องทางเดินให้มดเข้ามาอาศัยหากินหรือทำรังอยู่ในบ้านได้

3. การควบคุมโดยวิธีกล

โดยการใช้มือบี้หรือทำลาย ใช้ไม้กวาด กวาดทิ้งหรือทำลายรังโดยวิธีต่างๆ เช่น ใช้ไฟเผา ตัดรังทิ้งในกรณีที่รังอยู่บนต้นไม้ เป็นต้น

Visitors: 432,243