ยุง

 ยุงหากินเลือด โดยตอนพลบค่ำจะออกมาจากบริเวณแหล่งเพาะพันธุ์ซึ่งอยู่ในป่า เข้ามาใกล้บริเวณที่อยู่อาศัยของคนเพื่อหากินเลือด โดยก่อนเข้ากินเลือดเหยื่อ จะเข้าเกาะพักอยู่ตามฝาบ้านก่อน และเมื่อได้กินเลือดเต็มอิ่มแล้วก็จะเกาะพักอยู่ที่ฝาบ้านชั่วครู่ก่อนจะบินกลับไป การควบคุมยุงก้นปล่อง ซึ่งเป็นพาหะนำโรคมาลาเรียที่สำคัญในปัจจุบัน คือ การพ่นสารกำจัดแมลงที่มีฤทธิ์ฆ่ายุงได้นานให้ติดอยู่ตามฝาบ้าน ที่อยู่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่ยังมีการแพร่โรคเมื่อยุงเกาะพักบนฝาบ้านก่อนและหลังเข้ากินเลือดเหยื่อก็จะสัมผัสถูกับสารกำจัดแมลงที่พ่นทิ้งไว้
เนื่องจากยุงลายบ้านมีแหล่งเพาะพันธุ์อยู่ตามภาชนะน้ำขังภายในบ้าน ดังนั้นวิธีการควบคุมที่ง่าย และได้ผลดีที่สุดคือ การควบคุมลูกน้ำตามภาชนะน้ำขังเหล่านั้น ซึ่งมีอยู่มากมายหลายวิธี เช่น ปกปิดภาชนะขังน้ำไม่ให้ยุงวางไข่ได้ เปลี่ยนน้ำทุกอาทิตย์อย่าให้น้ำขังนาน คว่ำภาชนะน้ำขังที่ไม่ใช้ จัดเก็บทำลายภาชนะน้ำขังรอบๆ บ้านที่ไม่ใช้แล้ว ใช้ปลาหางนกยูงกินลูกน้ำ ใช้สารเคมีกำจัดลูกน้ำ โดยใช้วิธีควบคุมตัวยุง ด้วยการพ่นสารกำจัดแมลงแบบพ่นฟุ้ง ซึ่งมีทั้งพ่นหมอกควัน และฝอยละเอียด (ULV) การกำจัดยุงในระยะตัวอ่อน โดยการใช้

สารเคมีใส่ลงในบริเวณที่มีน้ำขัง แอ่งน้ำ เนื่องจากเป็นยุงที่มีนิสัยกัดกินเลือด และเกาะพักอยู่นอกบ้าน ดังนั้นจึงควบคุมได้ยาก วิธีที่ดีที่สุดคือทำลายแหล่งเพาะพันธุ์โดยการถมกลบหนองน้ำ หรือกำจัดพืชน้ำให้หมด ซึ่งกระทำได้ยาก ดังนั้นวิธีที่เหมาะสมคือการป้องกันตนเองจากยุงกัดโดยใช้ยาทากันยุงใช้สารเคมีกำจัดลูกน้ำ โดยใช้วิธีควบคุมตัวยุง ด้วยการพ่นสารกำจัดแมลงแบบพ่นฟุ้ง ซึ่งมีทั้งพ่นหมอกควัน และฝอยละเอียด (ULV) เนื่องจากแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงพาหะนำโรคไข้สมองอักเสบมีอยู่กว้างขวางมาก จึงไม่สามารถควบคุมได้ง่าย การควบคุมตัวยุงในช่วงชุกชุมสูงจึงเป็นวิธีการที่เหมาะสมกว่า ซึ่งสามารถทำได้โดยการพ่นสารกำจัดแมลงแบบพ่นฟุ้ง ซึ่งมีทั้งพ่นหมอกควัน และฝอยละเอียด (ULV)

Visitors: 486,611