กำจัด ยุง mosquitoes
|
ยุง
ยุง แบ่งออกได้เป็น 3 จำพวกใหญ่ๆยุงยักษ์ยุงก้นปล่องยุงลายและยุงรำคาญ
ยุงก้นปล่อง
ลักษณะเด่นสำคัญที่ช่วยแยกแยะยุงก้นปล่องออกจากยุงชนิดอื่น ๆ คือ พวกมันมักยกส่วนท้องขึ้นสูงอย่างเห็นได้ชัดขณะยืนทรงตัวดูดเลือด และจะวางไข่เป็นใบเดี่ยว ๆ แต่ละใบแยกจากกันบนผิวน้ำใสที่ไหลช้าและมีร่มเงา ในปัจจุบัน ประเทศไทยเป็นแหล่งกบดานของยุงก้นปล่องกว่า 73 สายพันธุ์ แต่มีเพียง 3 สายพันธุ์เท่านั้นค่ะที่เป็นพาหะนำโรคมาลาเรีย ซึ่งเกิดจากเชื้อโปรโตซัวพลาสโมเดียมที่มากับยุงนั่นเองค่ะ โรคมาลาเรียเป็นโรคที่อันตรายมาก เนื่องจากผู้ที่ติดเชื้อมีโอกาสเสียชีวิตถึง 35% เลยทีเดียวค่ะ
ยุงรำคาญ
พบบ่อยในทวีปแอฟริกาและเอเชีย โดยเฉพาะในฤดูฝน มีพฤติกรรมดูดเลือดคนและสัตว์เลือดอุ่นอย่างวัว ควาย และหมู เป็นอาหารและมักออกหากินในเวลากลางคืนเพราะไม่ถูกกันกับแสงสว่าง ส่วนการสืบพันธุ์ ยุงชนิดนี้มักวางไข่เป็นแพในบริเวณที่มีน้ำขังเน่าเสียที่มีปริมาณสารอินทรีย์สูง เช่น ในท่อระบายน้ำ หรือในภาชนะน้ำขังสกปรก โดยทั่ว ๆ ไป น้ำลายของยุงชนิดนี้ก่อให้เกิดอาการคันและมีตุ่มแดงผุดขึ้นบนผิวหนัง สำหรับบางคน น้ำลายยุงรำคาญสามารถทำให้เกิดอาการแพ้เป็นแผลขนาดใหญ่ตามผิวหนังทั่วร่างกาย ซึ่งเสี่ยงต่อการติดเชื้อสูง เป็นพาหะนำโรคไข้สมองอักเสบ และโรคเท้าช้างเฉพาะในประเทศพม่า อินเดีย และอินโดนีเซียค่ะ
ยุงเสือ
ยุงเสือ – ยุงสีน้ำตาลขนาดใหญ่ที่มีเกล็ดลวดลายแปลกตาบนปีกชนิดนี้ เป็นพาหะนำโรคเท้าช้าง ที่เกิดจากหนอนพยาธิตัวกลมฟิลาเรีย ทำให้เกิดภาวะอุดตันของระบบท่อน้ำเหลือง ส่งผลให้แขนขาและอวัยวะเพศบวมพองขึ้นจนมีขนาดใหญ่ผิดปกติ และเปลี่ยนผิวหนังให้กระด้างขรุขระ มีแหล่งเพาะพันธุ์ตามบึง หรือหนองน้ำที่มีพืช เช่น จอก แหน ผักตบชวา พบได้มากทางภาคตะวันตกและภาคใต้ของประเทศไทยค่ะทราบถึงอันตรายและโรคร้ายหลากหลายชนิดจากยุงต่างสายพันธุ์เช่นนี้แล้ว ก็อย่าลืมระวังตัวอย่าให้โดนยุงกัด ไม่ปล่อยให้ยุงเข้าบ้านและหมั่นกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงทั้งภายในและภายนอกบริเวณที่อยู่อาศัยกันด้วยนะคะ
ยุงลาย มี 2 ชนิด
-ยุงลายสวน มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ทวีปเอเชีย มักพบได้ตามสวนผลไม้ สวนยาง หรืออุทยานต่าง ๆ เพาะพันธุ์ตามแหล่งน้ำสะอาด สามารถบินได้ไกลกว่ายุงลายบ้าน และเป็นพาหะนำโรคไข้ชิคุนกุนยา และไข้เลือดออก ซึ่งผู้ใดก็ตามที่เป็นโรคนี้ มีโอกาสเสียชีวิตประมาณ 5-10% ค่ะ
-ยุงลายบ้าน มีภูมิลำเนาเดิมอยู่ที่ทวีปแอฟริกา มักพบตามบริเวณบ้านในเขตเมือง และเลือกวางไข่บนบริเวณน้ำขัง โดยเฉพาะที่อยู่ในภาชนะต่าง ๆ เช่น ตุ่มน้ำ จานรองขาตู้ ยางรถยนต์เก่า ถึงจะมีขนาดเล็ก แต่สามารถบินฉวัดเฉวียนได้อย่างแคล่วคล่องว่องไว เป็นพาหะนำโรคไข้เลือดออกในประเทศไทย และโรคไข้เหลืองในแถบอเมริกาใต้
ยุง
ยุง แบ่งออกได้เป็น 3 จำพวกใหญ่ๆ
- ยุงยักษ์
- ยุงก้นปล่อง
- ยุงลายและยุงรำคาญ
วงจรชีวิตของยุงคือ เป็นไข่ / ไข่ฟักเป็นลูกน้ำ ภายใน 1-3 วัน / ตัวโม่ง 1-3 วัน จนกลายเป็นตัวเต็มวัย อายุขัยประมาณ 1-5 เดือน ยุงตัวเมียเท่านั้นที่ดูดเลือด มักก่อปัญหา ทั้งในชุมชน ก่อความรำคาญ นำพาโรค เป็นแมลงที่ออกหากินได้ทั้งเวลากลางวันและกลางคืน เวลามีการระบาดของโรค ก็ควรป้องกันตัวเรา ไม่ให้ยุงดูดเลือดจากตัวเราได้
ความอันตรายจากยุง
เป็นที่ทราบกันดีว่ายุงเป็นแมลงที่อันตรายที่สุดในโลก เพราะยุงสามารถเป็นพาหะนำโรคเข้าสู่ร่างการมนุษย์ได้หลายโรค ที่สำคัญ คือยุงลาย ก่อไข้เลือดออก ซิกา ชิคุนกุนยา ยุงก้นปล่องนำโรคมาลาเลีย ยุงเสือพาหะโรคเท้าช้าง ไข้สมองอักเสบจากยุงรำคานชนิดหนึ่ง และอีกหลายๆโรค
การควบคุมและป้องกันด้วยตนเอง
- ใช้ยากันยุง หากไม่ชอบกลิ่น สามารถใช้พัดลมช่วยพัดไล่
- การกางมุ้ง หรือ ติดตั้งมุ้งลวดหน้าต่าง
- การใช้เครื่องดักยุงหรือ Mosquitoes trap
- จัดการแหล่งเพาะพันธุ์ ในพื้นที่ที่น้ำขัง หมั่นสำรวจเป็นประจำทุกวันเพื่อตัวเราเองและคนที่อยู่รอบข้าง
วิธีการจัดการโดยผู้เชี่ยวชาญ
- การใช้สารเคมีอย่างถูกต้อง ถูกวิธี มีตั้งแต่การใช้สารควบคุมกำจัดลูกน้ำยุง การพ่นหมอกควัน การอบละออง
- ติดตั้งเครื่องดักแมลง เพื่อช่วยดักจับ และบันทึก ติดตามผลการระบาดของยุงในพื้นที่